ปัญหาผิวหนังที่มากับฝน

อันตรายโรคผิวหนังที่มากับฝน ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
 
◉โรคผิวหนังที่มากับฤดูฝน ด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ประกอบกับสภาพอากาศช่วงนี้ ย่อมสามารถติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ น้ำท่วมขังตามจุดต่าง ๆ ยังเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค
ปัญหาที่พบได้บ่อยในหน้าฝนได้แก่โรคผิวหนัง เนื่องจากกระแสน้ำจะพาสิ่งสกปรก สารเคมี รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ให้แพร่กระจายและปะปนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง

 



1.โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา อาการในระยะแรกๆ เกิดการระคายเคือง ผิวหนังจะแห้งๆ ย่นๆ เริ่มมีอาการคัน มีสีแดง บางครั้งเริ่มมีตุ่มน้ำบริเวณตรงซอกนิ้วเท้า หรือตรงซอกเท้า และเริ่มเป็นแผล ผิวหนังแห้ง ตกสะเก็ด บวม เจ็บและคัน หรือเกิดแบบรุนแรง ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบ บวมแดง ร้อน หรือเป็นหนอง

2.โรคเท้าเหม็น เป็นโรคของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นนอก ทำให้มีเท้าลอกและมีกลิ่นเหม็นพบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลา นาน ทำให้มีความอับชื้น อันเอื้อให้เกิดสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

3.โรคฉี่หนู จะมีอาการไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขาหรือปวดหลัง อาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง

 


 
4.โรคเกลื้อน อาการของโรคเกลื้อนจะเริ่มด้วยการมีรอยโรคเป็นจุด อาจมีขุย หรือเป็นแผ่นราบ รอยโรคนั้นจะไม่เจ็บและจะไม่ติดต่อไปยังบุคคลอื่น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและมีอาการคันได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อน มีเหงื่อออกๆ มาก อยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว มีผิวมันเป็นต้น

5.โรคผื่นภูมิแพ้ อาการสำคัญของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะสังเกตได้ว่า ผู้ป่วยมักจะมีผิวแห้ง มีอาการคันบนผิวหนังมาก ๆ ผื่นที่ขึ้นจะเป็นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ซึ่งหากเกาผื่นจะยิ่งลุกลามมากขึ้น

◉วิธีป้องกัน


1.ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขัง หากเลี่ยงไม่ได้ต้องล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันทีหลังการสัมผัสน้ำสกปรกแล้วเช็ดเท้าโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วให้แห้งอยู่เสมอ หากมีแผลถลอกบริเวณเท้าอาจต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างด้วย

2.หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำท่วมขัง หรือหากจำเป็นต้องเดินย่ำน้ำด้วยเท้าเปล่า ควรรีบทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่และเช็ดเท้าให้แห้งทันที

3. กำจัดหนูในบริเวณสถานที่อยู่อาศัย
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่วางทิ้งไว้ค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด
ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว หากเดินลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ

 

*การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 
 

4.แนะนำให้ใช้ยาทาและยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
รักษาสุขอนามัย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวควรจะซักและนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้
ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า หรือ ผ้าเช็ดตัว
แนะนำให้อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม

5..ถ้ามีผื่นขึ้นแล้วมีอาการคันหรือดูแล้วว่าผื่นลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ แนะนำว่าให้มาพบแพทย์ เพราะว่าจะต้องมาแยกโรคด้วย ว่าเป็นเรื่องของผื่นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง จากที่ลุยน้ำ หรือว่าเป็นเรื่องการติดเชื้อรา หรือติดเชื้อแบคทีเรีย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้