โรคลมพิษ

เป็นอาการทางผิวหนังที่พบเห็นกันได้บ่อย เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ โดยจะปรากฏเป็นผื่นบวมนูนสีขาวล้อมด้วยสีแดง โดยผื่นที่ปรากฏนั้นจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา ส่วนขนาดของผื่นมีตั้งแต่เล็กมาก ไปถึงขนาดใหญ่

 

 *การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 


◉ชนิดของโรคลมพิษแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.ลมพิษเฉียบพลัน ผื่นลมพิษเป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่มักได้แก่ อาหาร ยา การติดเชื้อ
2.ลมพิษเรื้อรัง ผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป เกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง ดังจะได้กล่าวในหัวข้อสาเหตุของโรคลมพิษต่อไป

◉อาการของลมพิษ

มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เป็นผื่นลักษณะนูนแดง จะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป อาจเกิดขึ้นได้ที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ลำตัว รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจะรู้สึกคันมากและหากเกาก็จะเกิดผื่นแดงมากยิ่งขึ้น


 *การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 


◉สาเหตุของโรคลมพิษ

1.อิทธิพลทางกายภาพ ผู้ป่วยบางราย ผื่นลมพิษอาจเป็นผลจากปฏิกริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด การออกกำลังกาย เป็นต้น
2.ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้
3.การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิ เป็นสาเหตุของลมพิษได้ทั้งสิ้น
4.อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิดปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย
5.การแพ้สารที่สัมผัส ผื่นลมพิษเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิวหนังสัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น การแพ้ยา (Iatex) ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด เป็นต้น

 

 *การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคล 


◉การรักษาลมพิษ

การรักษามักเป็นการให้ยารักษาอาการคัน เบื้องต้นแพทย์อาจให้แบบยาทาโดยสามารถใช้ยาเองได้ที่บ้าน และหากการรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นไม่สำเร็จ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหายาที่ได้รับตามใบสั่งแพทย์หรือยาอื่น ๆ ประกอบกัน เพื่อการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด

◉การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคลมพิษ

ผู้ป่วยลมพิษที่ผื่นเป็นมาก โดยเฉาะอย่างยิ่งกลุ่มลมพิษเฉียบพลัน ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีหน้าบวม ตาบวม ปากบวมอย่างมาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้ เช่น อาการแน่นหน้าอก เกิดจากมีการบวม ของเยื่อบุทางหายใจอาจทำให้เกิดอาการหอบหืด ถึงชีวิตได้

 

 *ลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ บางคนเป็นไม่เยอะก็รักษาหายใช้เวลาไม่นาน บางคนอาการรุนแรงอาจจะใช้เวลานานในการรักษา

 

◉การป้องกันลมพิษ
สามารถบรรเทาและป้องกันลมพิษได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ได้ทราบจากการวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือการหมั่นสังเกตตัวเองและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้ทราบถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษ

 

 สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ประสบการณ์กว่า 22 ปี
ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
จันทร์ ถึง ศุกร์ 12.00 น. - 20.00 น.
เสาร์ ถึง อาทิตย์ 12.00 น. - 17.00 น.
#โทร : 088-521-8585
#Line : 1999MSC
#คลินิกผิวหนังมหานคร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้